เมนู

วิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์ กิจจาธิกรณ์ ดูก่อนอานนท์
เหล่านี้แล อธิกรณ์ 4 อย่าง.

อธิกรณสมถะ 7 อย่าง



ดูก่อนอานนท์ ก็อธิกรณสมถะนี้มี 7 อย่าง คือ เพื่อระงับอธิกรณ์
อันเกิดแล้วเกิดเล่า สงฆ์พึงใช้สัมมุขาวินัย เยภุยยสิกา สติวินัย อมูฬหวินัย
ปฏิญญาตกรณะ ตัสสปาปิยสิกา ติณวัตถารกะ.
[58] ดูก่อนอานนท์ ก็สัมมุขาวินัยเป็นอย่างไร คือ พวกภิกษุใน
ธรรมวินัยนี้ ย่อมโต้เถียงกัน ว่าธรรมหรือมิใช่ธรรม ว่าวินัยหรือมิใช่วินัย
ดูก่อนอานนท์ ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมด พึงพร้อมเพรียงกันประชุมพิจารณา
แบบแผนธรรม ครั้นพิจารณาแล้ว พึงให้อธิกรณ์นั้นระงับโดยอาการที่เรื่อง
ลงกันได้ในแบบแผนธรรมนั้น ดูก่อนอานนท์ อย่างนี้แล เป็นสัมมุขาวินัย
ก็แหละความระงับอธิกรณ์บางอย่างในธรรมวินัยนี้ ย่อมมีได้ด้วยสัมมุขาวินัย
อย่างนี้.
[59] ดูก่อนอานนท์ ก็เยภุยยสิกาเป็นอย่างไร คือ ภิกษุเหล่านั้น
ไม่อาจระงับอธิกรณ์นั้นในอาวาสนั้นได้ พึงพากันไปยังอาวาสที่มีภิกษุมากกว่า
ภิกษุทั้งหมดพึงพร้อมเพรียงกันประชุมในอาวาสนั้น ครั้นแล้วพึงพิจารณา
แบบแผนธรรม ครั้นพิจารณาแล้ว พึงให้อธิกรณ์นั้นระงับโดยอาการที่เรื่องลง
กันได้ในแบบแผนธรรมนั้น ดูก่อนอานนท์ อย่างนี้แล เป็นเยภุยยสิกา ก็แหละ
ความระงับอธิกรณ์บางอย่างในธรรมวินัยนี้ ย่อมมีได้ด้วยเยภุยยสิกาอย่างนี้.
[60] ดูก่อนอานนท์ ก็สติวินัยเป็นอย่างไร คือ พวกภิกษุในธรรม
วินัยนี้ โจทภิกษุด้วยอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิก หรือใกล้เคียง
ปาราชิกว่า ท่านผู้มีอายุระลึกได้หรือไม่ว่า ท่านต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้
คือ ปาราชิกหรือใกล้เคียงปาราชิกแล้ว ภิกษุนั้นตอบอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุ
ทั้งหลาย ข้าพเจ้าระลึกไม่ได้เลยว่า ข้าพเจ้าต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ

ปาราชิกหรือใกล้เคียงปาราชิก เมื่อเป็นเช่นนี้ สงฆ์ต้องให้สติวินัยแก่ภิกษุ
นั้นแล ดูก่อนอานนท์ อย่างนี้แล เป็นสติวินัย ก็แหละความระงับอธิกรณ์
บางอย่างในธรรมวินัยนี้ ย่อมมีได้ด้วยสติวินัยอย่างนี้
[61] ดูก่อนอานนท์ ก็อมูฬหวินัยเป็นอย่างไร คือ พวกภิกษุใน
ธรรมวินัยนี้ โจทภิกษุด้วยอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิกหรือใกล้เคียง
ปาราชิกว่า ท่านผู้มีอายุ จงระลึกดูเถิดว่าท่านต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ
ปาราชิกหรือใกล้เคียงปาราชิกแล้ว ภิกษุนั้นตอบอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย
ข้าพเจ้าระลึกไม่ได้เลยว่า ข้าพเจ้าต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิกหรือ
ใกล้เคียงปาราชิก ภิกษุผู้โจทนั้นปลอบโยนเธอผู้กำลังทำลายอยู่นี้ว่า เอาเถอะ
ท่านผู้มีอายุ จงรู้ตัวให้ดีเถิด เผื่อจะระลึกได้ว่าต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ
ปาราชิกหรือใกล้เคียงปาราชิกแล้ว ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุ
ทั้งหลาย ข้าพเจ้าเป็นบ้า ใจฟุ้งซ่านแล้ว กรรมอันไม่สมควรแก่สมณะเป็น
อันมาก ข้าพเจ้าผู้เป็นบ้าได้ประพฤติล่วง และได้พูดพล่ามไป ข้าพเจ้าระลึก
มันไม่ได้ว่า ข้าพเจ้าผู้หลงทำกรรมนี้ไปแล้ว เมื่อเป็นเช่นนี้ สงฆ์ต้องให้
อมฬูหวินัยแก่ภิกษุนั้นแล ดูก่อนอานนท์ อย่างนี้แล เป็นอมูฬหวินัย ก็แหละ
ความระงับอธิกรณ์บางอย่างในธรรมวินัยนี้ ย่อมมีได้ด้วยอมูฬหวินัยอย่างนี้.
[62] ดูก่อนอานนท์ ก็ปฏิญญาตกรณะเป็นอย่างไร คือ ภิกษุใน
ธรรมวินัยนี้ ถูกโจทหรือไม่ถูกโจทก็ตาม ย่อมระลึกและเปิดเผยอาบัติได้
เธอพึงเข้าไปหาภิกษุผู้แก่กว่า ห่มจีวรเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง แล้วไหว้เท้า นั่ง
กระหย่งประคองอัญชลี กล่าวแก่ภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้า
ต้องอาบัติชื่อนี้แล้ว ขอแสดงคืนอาบัตินั้น ภิกษุผู้แก่กว่านั้นกล่าวอย่างนี้ว่า
ท่านเห็นหรือ เธอตอบว่า ข้าพเจ้าเห็น ภิกษุผู้แก่กว่านั้นกล่าวว่า ท่านพึง
ถึงความสำรวมต่อไปเถิด เธอกล่าวว่า ข้าพเจ้าจักถึงความสำรวม ดูก่อน

อานนท์ อย่างนี้แล เป็นปฏิญญาตกรณะ ก็แหละความระงับอธิกรณ์บางอย่าง
ในธรรมวินัยนี้ ย่อมมีได้ด้วยปฏิญญาตกรณะอย่างนี้.
[63] ดูก่อนอานนท์ ก็ตัสสปาปิยสิกาเป็นอย่างไร คือ พวกภิกษุ
ในธรรมวินัยนี้ โจทภิกษุด้วยอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิกหรือใกล้
เคียงปาราชิกว่า ท่านผู้มีอายุระลึกได้หรือไม่ว่า ท่านต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้
คือ ปาราชิกหรือใกล้เคียงปาราชิกแล้ว ภิกษุนั้นตอบอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุ
ทั้งหลาย ข้าพเจ้าระลึกไม่ได้เลยว่า ข้าพเจ้าต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ
ปาราชิกหรือใกล้เคียงปาราชิก ภิกษุผู้โจทก์นั้นปลอบโยนเธอผู้กำลังทำลายอยู่นี้
ว่า เอาเถอะ ท่านผู้มีอายุจงรู้ตัวให้ดีเถิด เผื่อจะระลึกได้ว่าต้องอาบัติหนักเห็น
ปานนี้คือ ปาราชิกหรือใกล้เคียงปาราชิกแล้ว ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้
มีอายุทั้งหลาย ข้าพเจ้าระลึกไม่ได้เลยว่า ข้าพเจ้าต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้
คือปาราชิกหรือใกล้เคียงปาราชิก แต่ข้าพเจ้าระลึกได้ว่า ข้าพเจ้าต้องอาบัติชื่อ
นี้เพียงเล็กน้อย ภิกษุผู้โจทก์นั้นปลอบโยนเธอผู้กำลังทำลายอยู่นี้ว่า เอาเถอะ
ท่านผู้มีอายุ จงรู้ตัวให้ดีเถิด เผื่อจะระลึกได้ว่าต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ
ปาราชิกหรือใกล้เคียงปาราชิกแล้ว ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุทั้ง
หลาย อันที่จริง ข้าพเจ้าต้องอาบัติ ชื่อนี้เพียงเล็กน้อย ไม่ถูกใครถามยังรับ
ไฉนข้าพเจ้าต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิกหรือใกล้เคียงปาราชิกแล้ว
ถูกถาม จักไม่รับเล่า ภิกษุผู้โจทก์นั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุ ก็ท่านต้อง
อาบัติชื่อนี้เพียงเล็กน้อยไม่ถูกถามยังไม่รับ ไฉนท่านต้องอาบติหนัก เห็นปาน
นี้ คือ ปาราชิกหรือใกล้เคียงปาราชิกแล้ว ไม่ถูกถามจักรับเล่า เอาเถอะท่าน
ผู้มีอายุ จงรู้ตัวให้ดีเถิด เผื่อจะระลึกได้ว่าต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ
ปาราชิกหรือใกล้เคียงปาราชิกแล้ว ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุทั้ง
หลาย ข้าพเจ้ากำลังระลึกได้ ข้าพเจ้าต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิก

หรือใกล้เคียงปาราชิกแล้ว คำที่ว่า ข้าพเจ้าระลึกไม่ได้ว่า ข้าพเจ้าต้องอาบัติ
หนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิกหรือใกล้เคียงปาราชิกนี้ ข้าพเจ้าพูดพลั้งพูดพลาด
ไป ดูก่อนอานนท์ อย่างนี้แล เป็นตัสสปาปิยสิกา ก็แหละความระงับ
อธิกรณ์บางอย่างในธรรมวินัยนี้ ย่อมมีได้ด้วยทัสสปาปิยสิกาอย่างนี้.
[64] ดูก่อนอานนท์ ก็ติณวัตถารกะเป็นอย่างไร คือ พวกภิกษุ
ในธรรมวินัยนี้ เกิดขัดใจทะเลาะวิวาทกันอยู่ ได้พระพฤติล่วงและได้พูด
ละเมิดกรรมอันไม่สมควรแก่สมณะเป็นอันมาก ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมดพึงพร้อม
เพรียงกันประชุม ครั้นแล้ว ภิกษุผู้ฉลาดในบรรดาภิกษุที่เป็นฝ่ายเดียวกัน
พึงลุกจากอาสนะ ห่มจีวรเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนมอัญชลีประกาศให้สงฆ์
จงพึงข้าพเจ้า เราทั้งหลายในที่นี้ เกิดขัดใจทะเลาะวิวาทกันอยู่ ได้ประพฤติ
ล่วงกรรมอันไม่สมควรแก่สมณะเป็นอันมาก และได้พูดพล่าม ถ้าสงฆ์มีความ
พรั่งพร้อมถึงที่แล้ว ข้าพเจ้าพึงแสดงอาบัติของท่านผู้มีอายุเหล่านี้และของตน
ยกเว้นอาบัติที่มีโทษหยาบและอาบัติที่พัวพันกับคฤหัสถ์ ด้วยวินัยเพียงดังกลบ
ไว้ด้วยหญ้า ในท่ามกลางสงฆ์ เพื่อประโยชน์แก่ท่านผู้มีอายุเหล่านี้และแก่ตน
ต่อแต่นั้นภิกษุผู้ฉลาดในบรรดาภิกษุที่เป็นฝ่ายเดียวกันอีกฝ่ายหนึ่ง พึงลุกจาก
อาสนะ ห่มจีวรเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนมอัญชลี ประกาศให้สงฆ์ทราบว่า
ข้าแต่สงฆ์ผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า เราทั้งหลายในที่นี้ เกิดขัดใจทะเลาะ
วิวาทกันอยู่ ได้ประพฤติล่วงกรรมอันไม่สมควรแก่สมณะเป็นอันมาก และ
ได้พูดพล่าม ถ้าสงฆ์มีความพรั่งพร้อมถึงที่แล้ว ข้าพเจ้าพึงแสดงอาบัติของ
ท่านผู้มีอายุเหล่านี้และของตน ยกเว้นอาบัติที่มีโทษหยาบและอาบัติที่พัวพัน
กับคฤหัสถ์ ด้วยวินัยเพียงดังว่ากลบไว้ด้วยหญ้า ในท่ามกลางสงฆ์ เพื่อ

ประโยชน์แก่ท่านผู้มีอายุเหล่านี้และแก่ตน ดูก่อนอานนท์ อย่างนี้แล เป็น
ติณวัตถารกะ ก็แหละ ความระงับอธิกรณ์บางอย่างในธรรมวินัยนี้ ย่อมมีได้
ด้วยติณวัตถารกะอย่างนี้.

สาราณียธรรม ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึงกัน 6 อย่าง



[65] ดูก่อนอานนท์ ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึงกัน ทำความ
รัก ทำความเคารพ เป็นไปเพื่อสงเคราะห์กัน เพื่อไม่วิวาทกัน เพื่อความ
พร้อมเพรียงกัน เพื่อเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันนี้มี 6 อย่าง 6 อย่างเป็นไฉน
(1) ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีกายกรรมประกอบด้วย
เมตตา ปรากฏในเพื่อนร่วมพระพฤติพรหมจรรย์ ทั้งในที่แจ้ง ทั้งในที่ลับ นี้
คือธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึงกัน ทำความรัก ทำความเคารพ เป็นไป
เพื่อสงเคราะห์กัน เพื่อไม่วิวาทกัน เพื่อความพร้อมเพรียงกัน เพื่อเป็นอัน
หนึ่งอันเดียวกัน ประการหนึ่ง.
(2) ดูก่อนอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุมีวจีกรรมประกอบด้วย
เมตตา ปรากฏในเพื่อนร่วมประพฤติพรหมจรรย์ ทั้งในที่แจ้ง ทั้งในที่ลับ
นี้ก็ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึงกัน ทำความรัก ทำความเคารพ เป็นไป
เพื่อสงเคราะห์กัน เพื่อไม่วิวาทกัน เพื่อความพร้อมเพรียงกัน เพื่อเป็นอัน
หนึ่งอันเดียวกัน.
(3) ดูก่อนอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุมีมโนกรรมประกอบ
ด้วยเมตตา ปรากฏในเพื่อนร่วมประพฤติพรหมจรรย์ ทั้งในที่แจ้ง ทั้งในที่
ลับ นี้ก็ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึงกัน ทำความรัก ทำความเคารพ
เป็นไปเพื่อสงเคราะห์กัน เพื่อความพร้อมเพรียงกัน เพื่อเป็นอันหนึ่งอัน
เดียวกัน.